การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ( แบบผสมผสาน ) Basic First Aid Course ( Blended Learning )
เป็นหลักสูตรบริการสังคม สำหรับประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป พนักงานภาครัฐและเอกชน นักเรียน นักศึกษา ฯลฯ ได้มีความรู้ สามารถประเมินผู้บาดเจ็บเบื้องต้น ขอความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ และให้การช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ / ผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น ก่อนส่งไปรับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ สามารถประเมินผู้บาดเจ็บเบื้องต้น ขอความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ และให้การช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ / ผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น ก่อนส่งไปรับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
หัวข้อการอบรม
จัดรูปแบบการสอนแบบผสมผสาน ( Blended Learning ) สอนทฤษฎีแบบ Online พร้อมการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ก่อนเข้ามาฝึกปฏิบัติ Onsite ที่ศูนย์ฝึกอบรมฯ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึงบทเรียนได้ง่าย สามารถทบทวนบทเรียนได้จากคลิปวิดีโอด้วยตนเองเวลาใดก็ได้ เนื้อหาประกอบด้วยความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บและผู้เจ็บป่วย โดยแต่ละเรื่องมีใจความกระชับ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีขั้นตอนการปฐมพยาบาลพร้อมภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวประกอบอย่างชัดเจน ช่วยให้เข้าใจสามารถปฏิบัติตามได้ และนำความรู้ไปใช้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถ
1. ประเมินอาการเบื้องต้นของผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้
2. สามารถทำการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บได้
3. สามารถขอความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ได้
4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นได้
หัวข้อและตารางฝึกอบรม
ภาคทฤษฎี Online |
ภาคปฏิบัติ Onsite |
1. รู้จักกาชาด
2. หลักการปฐมพยาบาลและการประเมินสถานการณ์
3. ภาวะหมดสติและการจัดท่านอนที่ปลอดภัย
4. การชัก
5. ภาวะลมแดด
6. โรคหลอดเลือดสมอง
7. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
8. การสำลัก
9. การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ( CPR ) และเครื่อง AED
10. เลือดออกและการห้ามเลือด
11. กระดูกหัก การเข้าเฝือกชั่วคราว
12. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ |
1. การประเมินสถานการณ์และผู้บาดเจ็บ
2. การจัดท่านอนที่ปลอดภัยหรือท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ
3. การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ( CPR )
4. การปฐมพยาบาลผู้สำลักกรณีรู้สึกตัว
5. การห้ามเลือด
6. การเข้าเฝือก ข้อมือหัก ข้อศอกหัก ขาท่อนล่างหัก
7. การเคลื่อนย้ายแบบอุ้มนั่งบนมือ แบบจับ 2, 3, 4 มือ
|
ระยะเวลาการอบรม
1. เรียนทฤษฎีและทดสอบทฤษฎีทาง Online ผ่านทาง Website e-learning สภากาชาดไทย โปรแกรม Moodle
2. ประชุม Zoom กลุ่ม 1 ชั่วโมง ล่วงหน้า 1 - 2 วัน ก่อนเข้ามาฝึกปฏิบัติ
3. เข้ามาฝึกปฏิบัติและสอบปฏิบัติ Onsite 3 ชั่วโมง ( ต้องผ่านเกณฑ์การเรียนทฤษฎีแล้วเท่านั้น )
วิธีการอบรม | เรียนทฤษฎีและสอบภาคทฤษฎีทาง Online ผ่านโปรแกรม e learning สภากาชาดไทย Moodle ด้วยตนเอง / ประชุมออนไลน์Zoomก่อนฝึกปฏิบัติ / เรียนฝึกและสอบปฏิบัติOnsiteที่ศูนย์ฝึกอบรม |
ระยะเวลาการอบรม | 1 วัน |
รับจานวน | 20 คน |
วิทยากร | วิทยากรของกลุ่มงานอบรมปฐมพยาบาล |
วัน เวลา สถานที่ | ห้องประชุม 2-3 อาคารเฉลิม บูรณะนนท์ ชั้น 4 ถนนอังรีดูนังต์ ( ฝั่งศูนย์บริการโลหิตฯ ) |
คุณสมบัติผู้อบรม |
- อายุระหว่าง 15 - 65 ปี
- สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มือถือ Smart phone และมี Internet หรือ Wifi
- ต้องมี Line ส่วนบุคคล ถ้าไม่มีให้สมัครใหม่ เพื่อเข้าไลน์กลุ่ม
- ต้องมี email ส่วนบุคคล ถ้าไม่มีให้สมัครใหม่ เพื่อรับ Username และ Password เพื่อเข้าเรียนทฤษฎี
- โหลดโปรแกรม Zoom เพื่อประชุม Online
- สุขภาพแข็งแรง ไม่มีความเสี่ยงโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
- ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 อย่างน้อย 1 เข็ม และตรวจ ATK หรือ RT-PCR ผลเป็นลบ ( Negative ) ไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง ก่อนวันที่มาฝึกปฏิบัติ
- ไม่รับสมัครพระภิกษุสงฆ์ แม่ชี และสตรีมีครรภ์
- การแต่งกาย : สุภาพบุรุษ - สุภาพสตรี ให้สวมกางเกง เสื้อสุภาพ และรัดกุม
|
ค่าลงทะเบียนอบรม | 600 บาท ต่อ/คน |
สิทธิที่จะได้รับ | ใบรับรองหลักสูตร มีอายุ 1 ปี กรณีเรียนเฉพาะทฤษฎีออนไลน์ / ใบประกาศนียบัตรหลักสูตร มีอายุ 3 ปี |
การรับสมัคร | สมัครผ่าน www.training.redcross.or.th |
เบอร์โทรติดต่อ | โทร : 02-256-4041-2 FAX : 02-253-4802 |