การปฐมพยาบาลครบตามมาตรฐาน ( แบบผสมผสาน ) Standard First Aid Course ( Blended Learning )
หลักสูตรการปฐมพยาบาลครบตามมาตรฐานเป็นหลักสูตรการเรียนแบบผสมผสาน ในรูปแบบออนไลน์และการฝึกทักษะการปฏิบัติกับทีมวิทยาจารย์ โดยผู้อบรมสามารถศึกษาทบทวนความรู้ด้วยตนเองผ่านวิดีโอในกลุ่มเฟสบุ๊ค และรับฟังการบรรยายสรุปเนื้อหาในแต่ละหน่วยการเรียนผ่านระบบซูมกับวิทยาจารย์ทุกสัปดาห์ ( 3 ครั้ง ) สำหรับภาคปฏิบัติผู้อบรมต้องสามารถเข้ารับการฝึกทักษะและทดสอบการปฏิบัติตามวันและเวลาที่กำหนด ( 2 วัน ) เมื่อผู้อบรมทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะได้สามารถได้รับวุฒิบัตรของศูนย์ฝึกอบรมฯ
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไป พนักงานภาครัฐและเอกชน นักเรียน นักศึกษา อาสาสมัครช่วยเหลือปฐมพยาบาล หรือผู้ที่มีความสนใจ หลักสูตรการปฐมพยาบาลครบตามมาตรฐานนี้ มีเนื้อหาครอบคลุมทุกหัวข้อที่จำเป็นตามมาตรฐาน IFRC เมื่อผ่านหลักสูตรนี้แล้วท่านสามารถเป็นนักปฐมพยาบาลที่มีความรู้ ทักษะ ด้านการปฐมพยาบาลที่ครอบคลุมครบตามมาตรฐาน ให้การปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้อง มั่นใจ และปลอดภัยก่อนนำส่งผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาจากบริการทางการแพทย์ต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. ตระหนักและเห็นความสำคัญของการปฐมพยาบาล
2. ประเมินอาการเบื้องต้นของผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้
3. สามารถทำการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บได้
4. สามารถขอความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ได้
5. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัวและผู้อื่นได้
หัวข้อการอบรม
หลักสูตรการปฐมพยาบาลครบตามมาตรฐาน ( แบบผสมผสาน )
- อบรมภาคทฤษฎี
- อบรมภาคปฏิบัติ
อบรมภาคทฤษฎี
- เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ Facebook Private Group
หน่วยการเรียนที่ 1 รู้จักกาชาด ระบบที่สำคัญต่อการมีชีวิต หลักการปฐมพยาบาล และการประเมินการบาดเจ็บ ( 7 VDOs )
หน่วยการเรียนที่ 2 ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินและสารพิษ ( 7 VDOs )
หน่วยการเรียนที่ 3 บาดแผล การห้ามเลือด การใช้ผ้าพันแผล ( 15 VDOs )
หน่วยการเรียนที่ 4 การบาดเจ็บของกระดูกและข้อ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ( 17 VDOs )
หน่วยการเรียนที่ 5 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการสำลัก วัยผู้ใหญ่ ( 5 VDOs )
หน่วยการเรียนที่ 6 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการสำลัก วัยเด็กและทารก ( 8 VDOs )
หน่วยการเรียนที่ 7 สิ่งแปลกปลอม พิษจากสัตว์กัด ต่อย การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ ( 4 VDOs )
- สรุปประเด็นเนื้อหา Q&A ผ่านระบบ Zoom กับวิทยาจารย์ : จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง
ครั้งที่ 1 สรุปหน่วยการเรียนที่ 1 และ 2
ครั้งที่ 2 สรุปหน่วยการเรียนที่ 3 และ 4
ครั้งที่ 3 สรุปหน่วยการเรียนที่ 5, 6, 7 และสอบข้อเขียน จำนวน 35 ข้อ ( เกณฑ์ผ่านภาคทฤษฎี 60% ขึ้นไป )
อบรมภาคปฏิบัติ ในสถานที่ จำนวน 2 วัน ( เกณฑ์ผ่านภาคปฏิบัติ 80% ขี้นไป )
อบรมวันที่ 1
เวลา |
หัวข้อฝึกปฏิบัติ |
08.00 - 08.30 น. |
ลงทะเบียน |
08.30 - 09.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 1 การประเมินผู้บาดเจ็บกรณียังรู้สึกตัว |
09.00 - 09.30 น.
09.30 - 10.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 2 การประเมินผู้บาดเจ็บกรณีหมดสติ และการจัดท่านอนที่ปลอดภัย
หน่วยการเรียนที่ 2 การเป็นลม / ช็อก / ชัก
- โจทย์สถานการณ์คนเป็นลม Faint
- โจทย์สถานการณ์คนเป็นลมจากความร้อน ( ลมแดด ) Heat stroke
- โจทย์สถานการณ์คนเป็นลมจากการเสียเหงื่อ Heat exhausted
- โจทย์สถานการณ์ช็อกจากการเสียเลือด Hypovolemic shock
|
10.00 - 10.15 น. |
พักเบรก |
10.15 - 12.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 4 การเข้าเฝือกแขน
- การเข้าเฝือกกรณีข้อมือหัก
- การเข้าเฝือกกรณีแขนท่อนล่างหัก
- การเข้าเฝือกข้อศอกหัก
- การเข้าเฝือกแขนท่อนบนหัก
|
12.00-13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 - 14.00 น.
|
หน่วยการเรียนที่ 4 เฝือกขาและการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
- การเข้าเฝือกขาท่อนล่างหัก
- การเคลื่อนย้ายท่านอนด้วยเปลมือ
- การเคลื่อนย้ายโดยใช้เปลผ้าห่ม
- การเคลื่อนย้ายโดยใช้เปลไม้พลอง
|
14.00 - 14.30 น. |
หน่วยการเรียนที่ 3 การใช้ผ้าสามเหลี่ยมและผ้าม้วนยืด
- การใช้ผ้าสามเหลี่ยมห้ามเลือดที่แขน และการป้องกันภาวะช็อก
- การใช้ผ้าสามเหลี่ยมห้ามเลือดที่ศีรษะ
- การใช้ผ้าสามเหลี่ยมห่อมือ
|
14.30 - 14.45 น. |
พักเบรก |
14.45 - 16.00 น. |
- การใช้ผ้าม้วนยืดพันเกลียวและพันเป็นรูปเลขแปด ( Basic )
- การใช้ผ้าม้วนยืดพันห้ามเลือด
- การใช้ผ้าม้วนยืดพันกรณีมีวัตถุปักคา
- การใช้ผ้าม้วนยืดพันข้อเท้าเคล็ด
- การใช้ผ้าม้วนยืดพันอวัยวะถูกตัดขาด
- การใช้ผ้าม้วนยืดพันข้อมือเคล็ด
|
อบรมวันที่ 2
08.00 - 08.30 น. |
ลงทะเบียน |
08.30 - 09.20 น. |
หน่วยการเรียนที่ 5 การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ ( CPR ) ในผู้ใหญ่ |
09.20 - 09.40 น. |
หน่วยการเรียนที่ 6 การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ ( CPR ) ในเด็กโต |
09.40 - 10.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 6 การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ ( CPR ) ในเด็กทารก |
10.00 - 10.30 น. |
หน่วยการเรียนที่ 6 การสำลักสิ่งแปลกปลอม ( Choking ) ในผู้ใหญ่และเด็กทารก |
10.30 - 10.45. น. |
พักเบรก |
10.45 - 12.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 7 การปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด
หน่วยการเรียนที่ 4 การเคลื่อนย้ายท่านั่งด้วยเปลมือ 4 มือ 3 มือ และ 2 มือ |
12.00 - 13.00น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 - 13.30 น. |
แบ่งกลุ่ม เตรียมทดสอบสถานการณ์จำลอง |
13.30 - 14.00 น. |
ทดสอบสถานการณ์จำลอง |
14.00 - 15.00 น. |
ทบทวน ซักถามข้อสงสัย ประเมินผลภาคปฏิบัติ |
15.00 - 15.15 น. |
พักเบรก |
15.15 - 16.00 น. |
มอบวุฒิบัตร |
หมายเหตุ * ตารางนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม *
วิธีการอบรม | ภาคทฤษฎี ออนไลน์ : เรียนด้วยตนเองในสถานที่ที่ สัญญาณ internet เข้าถึง / ภาคปฏิบัติ ออนไซต์ : อาคารเฉลิม บูรณะนนท์ ชั้น 4 ห้อง 2 – 3 |
ระยะเวลาการอบรม | 2 วัน |
รับจานวน | 20 คน |
วิทยากร | วิทยาจารย์จากศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย |
วัน เวลา สถานที่ | อาคารเฉลิม บูรณะนนท์ ชั้น 4 ห้อง 2 – 3 |
คุณสมบัติผู้อบรม |
- สามารถใช้งาน Facebook, Line และ Zoom ได้ดี
- สามารถใช้งาน Internet ได้ดี
- มี E-mail ที่ใช้ประจำ เพื่อรับส่งข้อมูลการอบรม
- อายุระหว่าง 15 - 65 ปี สุขภาพแข็งแรง
- สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้ดี
- สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ครบถ้วนตามเกฑณ์ที่กำหนด ( ต้องเข้าเรียนไม่น้อยกวา 90% )
- ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 อย่างน้อย 1 เข็ม และตรวจ ATK หรือ RT-PCR ผลเป็นลบ ( Negative ) ไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง ก่อนวันที่เข้ามาฝึกปฏิบัติ
|
ค่าลงทะเบียนอบรม | 2500 บาท ต่อ/คน |
สิทธิที่จะได้รับ | 1. รับชุดลงทะเบียนทางไปรษณีย์ ได้แก่ หนังสือคู่มือการปฐมพยาบาล First Aid Manual จำนวน 1 เล่ม ผ้าสามเหลี่ยม จำนวน 2 ผืน ผ้าม้วนยืด จำนวน 1 ม้วน 2. มีอาหารกลางวัน อาหารว่าง 2 มื้อ และ น้ำ 1 ขวดต่อวัน ในวันอบรมภาคปฏิบัติ 3. เข็มผู้สำเร็จการอบรม 4. บัตรประจำตัวผู้สำเร็จการอบรม 5. วุฒิบัตรหลักสูตรการปฐมพยาบาลครบตามมาตรฐาน ( แบบผสมผสาน ) มีอายุ 3 ปี |
การรับสมัคร | สมัครผ่าน www.training.redcross.or.th |
เบอร์โทรติดต่อ | โทร : 02-256-4041-2 FAX : 02-253-4802 |